• Welcome to เว็บ สมัครรับ สูตรบาคาร่าฟรี 2024 สูตรบาคาร่า AI แม่นยำที่สุด.
 

อึ้ง ชายวัย 32 ปี สูบบุหรี่ไฟฟ้า 400 ครั้งต่อวัน จนป่วย ‘อิวารี่‘ ยืนยันรายแรก

เริ่มโดย thanin, พ.ย 19, 2024, 08:12 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

thanin

อึ้ง ชายวัย 32 ปี สูบบุหรี่ไฟฟ้า 400 ครั้งต่อวัน จนป่วย 'อิวารี่' ยืนยันรายแรก
อึ้ง ชายวัย 32 ปี สูบบุหรี่ไฟฟ้า 400 ครั้งต่อวัน จนปอดอักเสบเฉียบพลันรุนแรง ป่วย 'อิวารี่' ยืนยันรายแรก กรมควบคุมโรค เผยความอันตราย

วันที่ 19 พ.ย.2567 ที่ โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น พลัส แวนด้า แกรนด์ จ.นนทบุรี นพ.ชยนันท์ สิทธิบุศย์ ผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย พญ.ภาวินี วงค์ประสิทธิ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ร่วมแถลงข่าวกรณีพบผู้ป่วยปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

พญ.ภาวินี กล่าวว่า ตนขอขอบคุณผู้ป่วยและครอบครัวที่อนุญาตให้เผยแพร่เรื่องราวและประวัติการรักษาในครั้งนี้ เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้ายังคงเป็นปัญหาของไทยและหลายประเทศ โดยผู้ป่วยรายนี้เป็นเพศชาย อายุ 32 ปี อาการป่วยแรกรับคือไอเป็นเลือด เหนื่อยหอบ เหงื่อเยอะ จากนั้นเกิดอาการปอดอักเสบเฉียบพลันรุนแรงมาก แพทย์จึงทำการใส่ท่อช่วยหายใจ

ทั้งนี้ผลจากฟิล์มเอ็กซเรย์พบว่าบริเวณปอดมีฝ้าขาว และฟิล์มเอ็กซเรย์มีการเปลี่ยนแปลงเร็วทำให้อาการทรุดตัวรวดเร็วภายใน 24-36 ชั่วโมง ซึ่งโดยปกติเจอได้ไม่บ่อยนัก แพทย์จึงทำการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย รวมถึงวัณโรค เช่น โรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ หรือ โรค RSV เป็นต้น ซึ่งผลตรวจออกมาไม่พบการติดเชื้อใดๆ

"ในช่วงที่ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล อาการค่อนข้างวิกฤต รวมถึงมีภาวะการลงแดง ทำให้แพทย์สงสัยว่าเป็นการลงแดงจากการขาดสารนิโคติน แต่ด้วยช่วงแรกผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจทำให้พูดไม่ได้ แพทย์จึงไม่สามารถซักประวัติโดยละเอียดได้


แต่เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้แล้ว ทำการซักประวัติย้อนหลังพบว่าผู้ป่วยมีประวัติการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ปริมาณมากถึง 400 สูบต่อวัน หรือประมาณ 4 พอตต่อวัน จะไม่สูบเฉพาะตอนชาร์จอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าและตอนที่นอนหลับเท่านั้น จากประวัติผู้ป่วยแพทย์จึงมีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า หรืออิวารี่ (Evali)" พญ.ภาวินี กล่าว Admauto99


พญ.ภาวินี กล่าวต่อว่า ผู้ป่วยรายนี้ทำการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 28 วัน ซึ่งแพทย์ได้ทำการหักดิบเลิกบุหรี่ ปัจจุบันผู้ป่วยหยุดสูบบุหรี่แล้ว อาการป่วยก็ดีขึ้นสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ

ด้าน นพ.ชยนันท์ กล่าวว่า กรมควบคุมโรคมีระบบการเฝ้าระวังภัยสุขภาพครอบคลุมในทุกโรค ซึ่งโรคอิวารี่ เป็นโรคปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า มีการรายงานผู้ป่วยตั้งแต่ปี 2562 ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบผู้ป่วยเกือบ 2,000 ราย อายุเฉลี่ย 20-30 ปี โดยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 60 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.3

ซึ่งภาวะปอดอักเสบรุนแรงดังกล่าว มีการวินิจฉัยว่าเกิดจากน้ำมันกัญชาที่อยู่ในบุหรี่ไฟฟ้า แต่พบว่าร้อยละ 10-20 ไม่มีน้ำมันกัญชาเป็นส่วนประกอบในบุหรี่บุหรี่ไฟฟ้าก็เกิดภาวะปอดอักเสบรุนแรงได้เช่นกัน ดังนั้น สาเหตุการเกิดอิวารี่ ยังไม่มีการสรุปชัดเจนว่าเกิดจากน้ำยาประเภทใด แต่ที่แน่นอนคือเกิดจากบุหรี่ไฟฟ้าแน่นอน

"จะเห็นได้ว่าพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้อยู่แค่ตัวผลิตภัณฑ์ แต่พฤติกรรมการสูบของผู้ใช้ก็มีผลทำให้เกิดปอดอักเสบได้เช่นกัน อีกอย่างหนึ่งคือวาทกรรมของบริษัทผู้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า ที่บอกว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นอันตราย และยังสามารถช่วยเลิกบุหรี่ธรรมดาได้ด้วยนั้น แท้จริงแล้วพิษภัยไม่ได้ต่างกัน แถมบุหรี่ไฟฟ้ายังน่ากลัวกว่า

เพราะมีความสามารถในการเสพติดที่ง่ายมากขึ้นจากบุหรี่ธรรมดา ซึ่งขอย้ำถึงนิยามการเลิกบุหรี่ คือต้องเลิกทุกผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่เลิกบุหรี่ธรรมดา แล้วมาติดบุหรี่ไฟฟ้าแทน แบบนี้ไม่เรียกว่าการเลิกบุหรี่" นพ.ชยนันท์ กล่าว

นพ.ชยนันท์ กล่าวต่อว่า กรมควบคุมโรคปรับระบบการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าใหม่ ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยกำหนดให้แพทย์ต้องซักประวัติการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในผู้ป่วยที่เข้าข่ายภาวะปอดอักเสบ และทำการรายงานผลที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวัง


เพื่อให้เป็นข้อมูลต่อการกำหนดทิศทางนโยบายการควบคุมบุหรี่บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันไทยยังคงห้ามการห้ามนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า อย่างไรก็ตามสำหรับนโยบายชัดเจนในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า คือ

1.สร้างแกนนำเด็ก

2.กำหนดจุดจัดการที่เป็นต้นแบบทุกจังหวัด เช่น คลินิกครบวงจรในการเลิกบุหรี่ สนับสนุนยาเลิกบุหรี่ให้กับผู้ป่วย

ทั้งนี้หากพบเห็นผู้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าสามารถติดต่อไปที่สายด่วนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) 1166, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1599 และ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

เมื่อถามว่าผู้ป่วยรายดังกล่าวนี้ถือเป็นรายแรกในประเทศไทยหรือไม่ นพ.ชยนันท์ กล่าวว่า จริงๆ ในประเทศไทยพบการรายงานผู้ป่วยโรคอิวารี่ครั้งแรกในปี 2562 ซึ่งหลังจากนั้นระบบการเฝ้าระวังโรคมุ่งไปที่โรคโควิด-19 มากกว่า จึงทำให้เจอเคสรายงานผู้ป่วยแต่ไม่มีการรายงานอย่างเป็นทางการ

ตอนนี้กรมควบคุมโรคได้ปรับระบบการเฝ้าระวังใหม่ ทำให้ผู้ป่วยรายดังกล่าวนี้ถือเป็นรายแรกของปี 2567 โดยได้เน้นย้ำกับโรงพยาบาลทุกแห่ง ให้ซักประวัติผู้ป่วยโดยละเอียด เชื่อว่าหลังจากนี้ จะมีการรายงานเคสผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อถามถึงวาทกรรมการปลุกผีอิวารี่ เพื่อสกัดตลาดการขายบุหรี่ไฟฟ้า นพ.ชยนันท์ กล่าวว่า เรื่องนี้มีการกำหนดเงื่อนไขในการวินิจฉัยตามมาตรฐานสากล โดยกรมควบคุมโรค ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการตัดสาเหตุเรื่องการติดเชื้อในปอดออก พร้อมซักประวัติการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และดูเรื่องของอาการที่เปลี่ยนแปลงเร็ว

ขณะที่ พญ.ภาวินี กล่าวว่า ในผู้ป่วยโรคอิวารี่ จะมีภาวะปอดอักเสบที่ต่างจากการติดเชื้อทั่วไป อย่างผู้ป่วยรายดังกล่าวนี้ มีผลการเอ็กซเรย์ปอดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายในเวลา 10 ชั่วโมง ซึ่งไม่มีโรคติดเชื้อหลายที่อาการของโรคเปลี่ยนแปลงเร็วขนาดนี้

"ผู้ป่วยปอดอักเสบในวัยรุ่น ถ้ามาพบแพทย์หรือใส่ท่อช่วยหายใจไม่ทันเวลา ก็จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต จากนั้นก็จะเป็นเคสเสียชีวิตจากปอดอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ อย่างเช่นผู้ป่วยรายนี้ถ้ามาหาหมอแล้วให้กลับบ้านไปเชื่อได้ว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายในวันเดียวกันนั้น ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการซักประวัติผู้ป่วยโดยละเอียด เพื่อให้รู้ว่ามีการสูบบุหรี่ไฟฟ้า" พญ.ภาวินี