• Welcome to เว็บ สมัครรับ สูตรบาคาร่าฟรี 2024 สูตรบาคาร่า AI แม่นยำที่สุด.
 

ชู ขอนแก่น พะเยา ต้นแบบขับเคลื่อน อำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการยั่งยืน

เริ่มโดย thanin, ส.ค 26, 2024, 10:01 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

thanin

ชู ขอนแก่น พะเยา ต้นแบบขับเคลื่อน อำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการยั่งยืน
ชู ขอนแก่น พะเยา ต้นแบบการขับเคลื่อน โครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จำเป็นต้องทำควบคู่กันไปทั้งการพัฒนาระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน ซึ่งกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครองเป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลความมั่นคงทางชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน จึงได้ขับเคลื่อนโครงการอำเภอ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ขึ้น ร่วมกับ 7 ภาคีเครือข่าย ในระดับพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัย เกิดความสงบสุขในสังคมอย่างยั่งยืน

นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง เปิดเผยว่า กรมการปกครอง ได้ขับเคลื่อน โครงการอำเภอ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ที่ส่งผลต่อการสร้างสังคมที่เข้มแข็ง โดยอาศัยหลักการทรงงานและการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร มาปรับใช้ในการปฏิบัติราชการ และขยายผลลงสู่พื้นที่หมู่บ้านของพี่น้องประชาชน โดยมีเป้าหมายดำเนินงาน 878 อำเภอทั่วประเทศ มีนายอำเภอ เป็นผู้นำที่เปรียบดังหัวเรือใหญ่ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม เป็นศูนย์กลางในการประสานงานทุกภาคีเครือข่ายเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนางานในพื้นที่

โครงการ "การบริหารจัดการน้ำ และสืบสาน รักษา ต่อยอด ตามศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาแม่ใจอย่างยั่งยืน" ในพื้นที่ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เป็น 1 ใน 10 กิจกรรม ของอำเภอที่ได้รับการคัดเลือกให้มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มีการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ ส่งผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน สภาพแวดล้อมในบ้านดีขึ้น คนในครอบครัวมีสุขภาพดี มีความรักสามัคคีกัน โดยได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายและประชาชนในหมู่บ้านเป็นอย่างดี ส่งผลให้เศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่เข้มแข็ง ปัญหาต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นเป็นประจำ โดยเฉพาะปัญหาการบริหารจัดการน้ำได้รับการแก้ไข พื้นที่ต้นน้ำสามารถกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น มีน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตรเพิ่มมากขึ้นไม่น้อยกว่า 11,410 ลูกบาศก์เมตร สามารถชะลอการไหลของน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของดิน ช่วยเก็บกักตะกอนก่อนไหลลงสู่หนองเล็งทราย และยังเป็นแหล่งต้นน้ำของกว๊านพะเยา สามารถแบ่งปันกระจายน้ำไปยังอำเภอเมืองพะเยา อำเภอภูกามยาว อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงรายได้ ซึ่งทางหมู่บ้านมีข้อกำหนดร่วมกันในการบริหารจัดการแหล่งน้ำ หรือที่เรียกว่า "ธรรมนูญกลางเหมืองฝาย" เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นระบบ มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ลดความขัดแย้งของคนในพื้นที่ สอดคล้องกับแผนบริหารจัดการน้ำของประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็จะส่งเสริมให้ชาวบ้านทำทุกอย่างที่จะสามารถพึ่งพาตนเองได้ เริ่มจากสร้างคนต้นแบบเพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนอื่นมาศึกษาเรียนรู้และนำไปปรับใช้ โดยทุกๆ โครงการจะต้องให้ทุกคนในหมู่บ้าน รวมถึงวัด โรงเรียน มีส่วนร่วม เพื่อความสามัคคี และดึงคนรุ่นใหม่ให้กลับมาอยู่กับครอบครัวได้อย่างอบอุ่น Admauto99

เช่นเดียวกับพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ที่ดำเนินโครงการลำห้วยห้วยพระคือ สายน้ำแห่งชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจชุมชน ในพื้นที่ตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ที่เดิมมักจะประสบปัญหาน้ำหลากไหลเข้าพื้นที่เป็นจำนวนมากเมื่อมีฝนตกหนัก ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่อยู่อาศัย น้ำท่วมพื้นที่การเกษตรเป็นวงกว้าง ส่วนหนึ่งเกิดจากลำห้วยพระมีผักตบชวากีดขวางทางเดินน้ำจำนวนมาก ชาวบ้านจึงร่วมกับภาคีเครือข่าย ช่วยกันกำจัดผักตบชวาในลำห้วยพระ ทำให้น้ำสามารถไหลระบายจากลำห้วยพระ ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของลำน้ำพองออกจากพื้นที่ตำบลศิลา ตำบลในเมือง ตำบลพระลับ ได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้น้ำไม่ท่วมขังในเขตตำบลในเมือง และตำบลพระลับ ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจและเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล สถานศึกษาหลายแหล่ง โดยผักตบชวาที่ชาวบ้านกำจัดไม่ได้นำไปทิ้งเปล่า แต่นำมาแปรสภาพเป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ยหมัก สำหรับใช้ในครัวเรือน ช่วยลดต้นทุนการผลิตในการทำเกษตรได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังจัดทำโครงการบ้านนี้รักษ์น้ำ ให้ทุกบ้านบำบัดน้ำก่อนปล่อยลงสู่ลำห้วยพระ เพื่อรักษาคุณภาพน้ำให้มีสัตว์น้ำสำหรับทำการประมงได้ ซึ่งการดำเนินโครงการยังได้ขยายผลไปสู่โรงเรียน ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแลหมู่บ้านของตัวเอง เริ่มต้นจากให้นักเรียนรู้จักการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ซึมซับและสร้างจิตสำนึกในการต่อยอดกิจกรรมอื่นๆ ต่อไป

กิจกรรมที่โครงการลำห้วยพระคือ สายน้ำแห่งชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจชุมชน เป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนและภาคีเครือข่ายได้ร่วมมือกันปฏิบัติ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการสร้างศูนย์เรียนรู้สู่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมืองขอนแก่น เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ผลิตสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ พร้อมกับจัดให้มีตลาดในหมู่บ้าน ในท้องถิ่นเพื่อให้ชาวบ้านนำผลผลิตมาจำหน่าย นอกจากนี้ยังร่วมมือกับวัดในหมู่บ้านจัดทำโครงการวัดประชารัฐสร้างสุข เปิดโอกาสให้ชาวบ้านมาใช้สถานที่วัดปลูกผักปลอดสารพิษ ส่งเสริมด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือคนในหมู่บ้าน ในท้องถิ่น

"การดำเนินโครงการอำเภอ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน เป็นการบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวันให้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้ ครอบครัวมีความสุข หมู่บ้านเข้มแข็ง แต่การดำเนินงานจะประสบความสำเร็จไม่ได้เลย หากปราศจากซึ่งผู้นำที่เข้มแข็ง ผู้นำต้องเป็นคนที่มีใจ มีแรงปรารถนาที่จะเสนอตัวเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการชักชวนให้ทุกคนมาช่วยการพัฒนาหมู่บ้านหรือท้องถิ่นของตัวเอง โดยจะต้องเริ่มจากนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและภาคีเครือข่าย และเมื่อเห็นผลสำเร็จที่เกิดขึ้นแล้ว แรงบันดาลใจอื่นๆ ก็จะตามมา ส่งผลให้การดำเนินงานโครงการต่างๆ ในหมู่บ้าน ในท้องถิ่นนั้นๆ เห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยสิ่งเหล่านี้ที่ทำมาทั้งหมด มั่นใจว่าจะเกิดความยั่งยืนอย่างแน่นอน เพราะเราทำออกมาจากหัวใจ" อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวทิ้งท้าย

#โครงการอำเภอบำบัดทุกข์บำรุงสุข
#กรมการปกครอง